บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 15 กันยายน 2557 ครั้งที่ 5
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญาเรียกโดยทั่วไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"
ตารางเปรียบเทียบระหว่าง เด็กฉลาด กับ เด็กปัญญาเลิศ
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
2.1 เด็กที่ความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities) หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
เด็กปัญญาอ่อน
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)
2.2 เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก
เด็กหูตึง
เด็กหูหนวก
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
2.3 เด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น (Children with Visual Impairments)
- เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
- มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
- สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
- มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา จำแนกเป็น 2 ประเภท เด็กตาบอด และเด็กตาบอดไม่สนิท
เด็กตาบอด
เด็กตาบอดไม่สนิท
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการมองเห็น
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ได้รู้จักเด็กแต่ละประเภท เพื่อนำไปใช้ในอนาคตโดยการ สอน เพราะเราได้รู้อาการ ลักษณะ สาเหตุ ของเด็กแต่ละประเภทไปแล้วทำให้เราเลือกการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม และการดูแลเด็กพิเศษได้เหมาะสม และถูกวิธี
ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึก เนื้อหาที่อาจารย์สอน และฟังคำอธิบายของเด็กแต่ละประเภทเพื่อทำความเข้าใจ
ประเมินเพื่อนๆ
เพื่อนๆ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจจดบันทึก อาจจะมีคุยกันบ้างแต่ก็ตั้งใจเรียน มีการพูดคุยกับอาจารย์เพื่อให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น
ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยน่ารัก ท่านสอดแทรกกิจกรรมเข้ามาสอนเพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายและไม่เครียดในการเรียน อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ดี ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และมีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น